ทำเกษตรผสมผสานให้ประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมศรีสะเกษ

ทำเกษตรผสมผสานให้ประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมศรีสะเกษ

ทำเกษตรผสมผสานให้ประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมศรีสะเกษ จะมีใครเชื่อว่าพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อหลายสิบปีก่อน ถือว่าเป็นพื้นที่ธุรกันดาร แห้งแล้ง ในอดีตจึงได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ จากสถิติรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร ปี พ.ศ. 2534 เฉลี่ยต่อหัว เพียง 12,087 บาท/ปี จะสามารถเป็นผู้ผลิตน้ำนมดิบและนำส่งให้กับคู่ค้าหลายแห่งรวมทั้งบริษัทแปรรูปนมรายใหญ่ของประเทศ ปริมาณส่งน้ำนมดิบ 17 ตันต่อวันโดยประมาณ จากจังหวัดที่เคยแห้งแล้งและเคยยากจนที่สุดในประเทศไทย สามารถทำการเกษตร (ทำนา) และปศุสัตว์ ควบคู่ ผสมผสานกันอย่างเกื้อกูล หรือที่เราเรียกว่าการทำเกษตรผสมผสาน

1_เนื้อเรื่อง

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น

ในปี พ. ศ. 2535 เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ตามโครงการอีสานเขียว เกษตรกรในเขตพื้นที่ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับการสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโคนม ครอบครัวละ 3 ตัว รวม 162 ตัว ซึ่งเสมือนเป็นการวางรากฐานการทำเกษตรแบบผสมผสานเกื้อกูลกันระหว่างการปลูกพืช การทำนาและปศุสัตว์ เพื่อให้พออยู่ พอกิน ตามหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียงในปี พ.ศ. 2545 เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เห็นความสำคัญของการทำเกษตรแบบผสมผสานและมีเกษตรกรสนใจเลี้ยงโคนมเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำนมดิบเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการกลุ่มและน้ำนมดิบที่ซับช้อนมากขึ้น จึงขอรับคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ ในการนำหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์ ไปใช้บริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบของสหกรณ์ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการทำกินด้านต่างๆ โดยร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545 ใช้ชื่อว่า “สหกรณ์โคนมศรีสะเกษ จำกัด” มีที่ทำการตั้งอยู่ เลขที่ 77 ม.6 บ้านโนนหล่อง ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นสหกรณ์ประเภทสหกรณ์การเกษตร เลขหมายทะเบียนสหกรณ์ ที่ ก 006945 ดำเนินกิจการภายใต้บทบัญญัติกำหนดเป็นกรอบการปฎิบัติ ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

2_เนื้อเรื่อง

ปัจจุบัน สหกรณ์โคนมศรีสะเกษ จำกัด มีทุนดำเนินงาน 53,081,783.11 บาท มีสมาชิก 138 คน สมาชิกมีรายได้เฉลี่ย จากการขายน้ำนมดิบให้กับสหกรณ์ 70,000 บาทต่อเดือน (โดยประมาณ) ควบคู่ไปกับการทำนา และ ปลูกพืชผักสวนครัว โดยเกษตรกรจัดสรรพื้นที่ทำกิน ทำคอกสัตว์และแปลงปลูกหญ้าเลี้ยงโค พื้นที่ส่วนที่เหลือ ใช้ปลูกพืชผักสวนครัว พืชหลังนา หากมีที่ดินเหลืออีกก็ใช้เพื่อการทำนา กิจกรรมการเกษตรที่หลากหลาย สามารถนำวัสดุหมุนเวียนใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร อาทิเช่น มูลโคนำไปใช้เป็นปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชต่าง ๆ ได้แก่ ข้าว พืชผักสวนครัว และปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์นอกจากนั้นยังมีรายได้จากการขายมูลโคแห้งในราคาตันละ 800-1,500 บาท เมื่อมีรายได้มากขึ้นก็พัฒนาที่ทำกินขุดสระน้ำเลี้ยงปลาเพื่อบริโภค และใช้เพื่อการปลูกหญ้าในฤดูแล้ง ส่วนฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยวได้ใช้เป็นอาหารของโคนมและเหลือเพื่อขาย

เกษตรกรสมาชิกของสหกรณ์ฯ ส่วนใหญ่ได้นำระบบเกษตรผสมผสานมาใช้ในการทำการเกษตร สามารถลดต้นทุนการผลิต สร้างเสริมรายได้ และมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง (รายได้พอเพียง/รายจ่ายมีน้อย) นับเป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีพ การทำการเกษตรเพื่อให้พออยู่พอกิน เป็นคุณประโยชน์ที่ยั่งยืนของการทำเกษตรผสมผสาน สามารถลดความเสี่ยงที่อาจขึ้นได้อยู่เสมอ จากผลกระทบความไม่แน่นอนทางธรรมชาติ รวมทั้งราคาพืชผลและปัจจัยการผลิต ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าการทำเกษตรเชิงเดี่ยว

เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคนมศรีสะเกษ จำกัด พร้อมใจกันน้อมนำแนวทางของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฎิบัติจนเกิดผลดีเป็นรูปธรรม เกิดความมั่นคงคงยั่งยืนสามารถพึ่งพาตนเอง เมื่อมีเหลือยังเอื้ออาทรแบ่งปันกันในชุมชน นำไปสู่การกินดี อยู่ดี มีสันติสุขในสังคม ชุมชนเกิดความรักใคร่สามัคคี เข้มแข็ง โดยยึดแนวทางตามหลักการสหกรณ์

3_เนื้อเรื่อง

วันนี้ที่ศรีสะเกษ เกษตรกรพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้สำเร็จ มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีการทำเกษตรแบบผสมผสาน การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มีหลากหลายทางเลือก เกษตรกรทำการเกษตรแผนใหม่ ใช้เทคโนโลยีและความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน ฯลฯ ภายใต้การส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทุกหน่วยงานบูรณารการทำงานมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

จากข้อมูลสถิติพบว่า รายได้ต่อหัวของประชากรจังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2562 เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 73,958 บาท/คน/ปี ปัจจุบัน กล่าวได้ว่า จังหวัดศรีสะเกษ ได้หลุดพ้นสถานภาพการเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดของประเทศไทยไปนานแล้ว เกษตรกรไม่ต้องทิ้งถิ่นฐาน บ้านเกิด หรือพลักพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก เยาวชนหนุ่มสาวลูกหลานเกษตรกรที่เคยทำงานในเขตเมืองหรือภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีแนวโน้มกลับไปทำกินในถิ่นฐานบ้านเกิดกันมากขึ้น

ทำเกษตรผสมผสานให้ประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมศรีสะเกษ สังคมในชนบทที่เคยอบอุ่นพร้อมหน้าพร้อมตา ปัญหาทางสังคมแทบจะไม่เกิดขึ้น บรรยากาศเช่นนี้ กำลังจะกลับคืนมา หลายคนที่ตลอดชีวิตอยู่แต่ในสังคมเมืองที่เน้นคุณค่าทางวัตถุและบริโภคนิยม ต่างไฝ่หาโอกาสไปหาที่ดินตามชนบท เพื่อทำการเกษตรอยากใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามอย่างเกษตรกร เกษตรกรในวิถีชีวิตตามแนวทางสหกรณ์ จึงเป็นสังคมทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

บทความแนะนำ

รู้หรือไม่ อาการเสียววูบท้อง ระหว่างนั่งรถขึ้นหรือลงเนิน เกิดจากอะไร?

5 ร้านออมทอง ที่รับประกันเรื่องความปลอดภัย 100%